• May 1, 2024

ย้อน 2 เหตุโรงงาน-โกดังเก็บพลุระเบิด ปี 66 หลังโรงงานพลุระเบิด สุพรรณบุรี

เหตุการณ์โรงงานพลุระเบิด วันที่ 17 ม.ค 67 เวลาประมาณ 15:30 น. พื้นที่บ้านข่อยงามหมู่ 3 ตำบลศาลาขาว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย และพบผู้เสียชีวิตเบื้องต้น 20 ราย ถือเป็นโศกนาฏกรรมโรงงาน-โกดังเก็บพลุระเบิด ที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก

หากเปิดสถิติย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2551 จะพบว่า เกิดอุบัติเหตุโรงงาน-โกดังเก็บพลุระเบิดมาแล้วมากกว่า 20 ครั้ง และในแต่ละครั้งได้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะในปี 2566 ที่เกิดขึ้นถึง 2 ครั้งด้วยกัน

เล่านาทีโรงงานพลุระเบิด สุพรรณบุรี มีเสียงดังบึ้ม! อยู่ห่างเป็นกิโลยังได้ยิน

เปิดข้อมูลโรงงานพลุระเบิด สุพรรณบุรี พบปี 65 เพิ่งเกิดเหตุซ้ำจุดเดียวกัน

โรงงานพลุระเบิด อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่คำพูดจาก เว็บตรง

24 ก.ค. 2566 เมื่อเวลาประมาณ 12.10 น. สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดเชียงใหม่ รับแจ้งจากอำเภอดอยสะเก็ด ว่าเกิดเหตุโรงงานผลิตพลุ ดอกไม้เพลิง ในพื้นที่บ้านสันต้นผึ้งใหม่ หมู่ 14 ต.สันปูเลย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เกิดระเบิด

หลังเกิดเสียงระเบิดดังสนั่น ชาวบ้านรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากนั้นเกิดกลุ่มควันพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล

โดยเจ้าหน้าที่ปกครอง อำเภอดอยสะเก็ด เทศบาลตำบลสันปูเลย และหน่วยกู้ภัยได้เข้าสกัดเพลิงในอาคารดังกล่าว เบื้องต้นมีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ 11 ราย สาหัส 1 ราย บาดเจ็บ 10 ราย

โกดังพลุระเบิด อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส

5 วันต่อมา วันที่ 29 ก.ค. 2566 เวลาประมาณ 15.00 น. เกิดเหตุพลุ ประทัด และดอกไม้ไฟ ระเบิดภายในโรงงาน บริเวณบ้านมูโนะ หมู่ที่ 1 ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 12 บาดเจ็บ 130 ราย บ้านพัง 329 หลัง และรถยนต์เสียหาย 8 คัน ประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 1,367 ราย

พล.ต.ต.อนุรุธ อิ่มอาบ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส แถลงว่า การตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุมีการตรวจเก็บหลักฐานในพื้นที่เกิดเหตุเรียบร้อยแล้ว และมีการสอบปากคำผู้เสียหายเบื้องต้น 30 กว่าปาก นอกจากนั้นได้ตรวจยึดประทัดและดอกไม้ไฟที่เหลือและนำไปเก็บรักษาไว้ชั่วคราว

นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นใน จ.นราธิวาส ถูกมองว่าเป็นความหละหลวมของหน่วยที่เกี่ยวข้อง ที่ไม่มีการบูรณาการความร่วมมือดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง หากจะป้องกันเหตุซ้ำรอยควรเร่งสำรวจและจัดระเบียบใหม่ทั้งหมด รวมถึงให้พิจารณาเพิ่มโทษกับผู้ประกอบการที่ทำผิดกฎหมาย

สำหรับการตั้งโรงงานหรือโกดังที่ได้รับมาตรฐานจะต้องมี “บับเบิ้ลโซน” คือ มีรั้วห่างจากอาคารอย่างน้อย 20 เมตร และต้องเตรียมพื้นที่ไว้เผื่อกรณีที่ชุมชนขยายตัวเข้ามาใกล้โรงงานห้ามเข้าใกล้ในรัศมี 100-500 เมตร ขึ้นอยู่กับปริมาณดอกไม้ไฟหรือพลุในโกดัง

ตัวอาคารต้องเป็นเอกเทศ 1 ชั้น ไม่มีชั้นลอย ไม่มีชั้นใต้ดิน ก่อสร้างด้วยวัสดุไม่ติดไฟ มีสายล่อฟ้า หลังคารองรับแรงอัดระเบิด และต้องมีการระบายความร้อนควบคุมอุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียล และต้องมีเครื่องดับเพลิงเคมี 2 เครื่องต่อ 100 ตร.ม.

นายสนธิเสริมว่า ร้านค้าปลีกจะสามารถนำพลุ ดอกไม้ไฟมาขายได้เฉพาะช่วงเทศกาลเท่านั้น ต้องขออนุญาตขายเป็นรายครั้ง มีการจำกัดจำนวน สต๊อกสินค้าให้เหมาะสมกับพื้นที่จัดเก็บเพื่อความปลอดภัย

เปิดสถิติหวยออกงวดวันที่ 17 มกราคม หวยวันครู ย้อนหลัง 15 ปี

วันหยุดกุมภาพันธ์ 2567 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ ตรงกับวันไหนบ้าง

ประกาศฉบับสุดท้าย เตือนภาคเหนือ 4 จังหวัด รับมือพายุฝนฟ้าคะนอง