• April 28, 2024

เรือผู้อพยพสองลำล่มในอิตาลี คาดดับ 41 ราย

อย่างไรก็ดี วันนี้ 10 ส.ค. ทางการอิตาลีรายงานว่ายังคงค้นหาผู้รอดชีวิตต่อแม้ว่าจะผ่านมาหลายวันแล้วก็ตาม นี่เป็นอุบัติเหตุเรือล่มที่เกิดขึ้นซ้ำอีกครั้งในน่านน้ำยุโรป และเป็นสิ่งที่สะท้อนว่า สงคราม ความขัดแย้ง ความยากจนในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือยังรุนแรงอยู่ จนทำให้คนต้องเสี่ยงตายอพยพเข้าประเทศในยุโรปเพื่อความปลอดภัยและอนาคตที่ดีกว่า

เรือผู้อพยพล่มนอกชายฝั่งอิตาลี เสียชีวิต 59 ราย

ไฟป่าโหมแรงบนเกาะฮาวาย มีผู้เสียชีวิตแล้ว 6 ราย

ภาพจากวิดีโอขณะที่เจ้าหน้าที่ของ Doctors Without Borders หรือองค์การแพทย์ไร้พรมแดน กำลังพยายามช่วยเหลือผู้อพยพหลังจากที่เรือขนผู้อพยพล่มกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน การช่วยเหลือครั้งนี้มีขึ้นหลังจากทางการอิตาลีรายงานเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า เรือผู้อพยพสองลำล่มกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนใกล้กับชายฝั่งของเกาะลัมเพดูซา ทางตอนใต้ของอิตาลี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย สูญหายอีกกว่า 30 คน

ในวันเดียวกันนั้น ทางการอิตาลีและหน่วยช่วยเหลือองค์การแพทย์ไร้พรมแดน รายงานว่าสามารถช่วยชีวิตผู้ลี้ภัยมาได้ 57 คน

นอกจากนี้ เรือบรรทุกสินค้าของมอลตา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเกาะลัมเพดูซาได้เข้าช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจำนวน 4 คนที่ลอยคออยู่กลางทะเล ก่อนที่เจ้าหน้าที่ยามฝั่งของอิตาลีจะพาตัวไปรักษาบนเกาะลัมเพดูซา โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่าผู้รอดชีวิตอยู่ในอาการตื่นตระหนกและหวาดกลัว

สำนักข่าวดอยเชอ เวลเลอของเยอรมนีระบุว่าผู้รอดชีวิตทั้ง 4 รายเป็นหญิง 3 ราย ชาย 1 ราย มีทั้งคนที่ถือสัญชาติไอวอรีโคสต์และสัญชาติกินี ผู้รอดชีวิตเล่าว่าบนเรือมีผู้โดยสารทั้งหมด 45 คน และในจำนวนนี้มีเด็กรวมอยู่ด้วย 3 คน แต่มีผู้โดยสารเพียง 15 คนเท่านั้นที่สวมเสื้อชูชีพ และแม้บางส่วนจะสวมเสื้อชูชีพ แต่ด้วยสภาพอากาศและคลื่นลมในทะเลที่รุนแรง ผนวกกับการลอยคออยู่ในทะเลนาน ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม 41 ราย บรรดาผู้รอดชีวิตระบุว่า เรือลำที่ล่มกลางทะเลดังกล่าวออกเดินทางมาจากท่าเรือเมืองสแฟกซ์ เมืองท่าทางตะวันออกของประเทศตูนิเซียเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ก่อนจะล่มในอีก 6 ชั่วโมงให้หลัง เนื่องจากเผชิญกับคลื่นลูกใหญ่ในทะเล

เหตุการณ์เรือผู้อพยพล่มที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่ครั้งแรกและอาจกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ปีนี้มีเหตุการณ์เรือผู้อพยพล่มกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณที่เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างทวีปแอฟริกาและยุโรปหลายครั้ง และทำให้ผู้ลี้ภัยเสียชีวิตจากเหตุเรือล่มไปจำนวนมาก

แผนที่แสดงเส้นทางที่ผู้อพยพส่วนใหญ่มักใช้เพื่อออกจากทวีปแอฟริกามายังอิตาลี ก่อนจะมุ่งหน้าไปสู่ประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรป ส่วนใหญ่แล้วบรรดาผู้ลี้ภัยจะมุ่งหน้าไปขึ้นเรือผู้อพยพในเมืองสแฟกซ์ เมืองท่าทางตะวันออกของประเทศตูนิเซีย ประเทศเล็กๆ ในทวีปแอฟริกาเหนือ ก่อนที่จะล่องเรือข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อมุ่งหน้าไปยังพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี

นอกจากเมืองสแฟกซ์แล้ว ลิเบียเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เป็นประเทศต้นทางของผู้อพยพ เพราะมีชายฝั่งติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเช่นเดียวกับตูนิเซีย ประกอบกับการเมืองภายในของลิเบียมีความวุ่นวายและยุ่งเหยิง จึงเป็นช่องว่างให้กลุ่มอาชญากรลักลอบขนผู้ลี้ภัยทำงานได้ง่าย ไม่เฉพาะเครือข่ายต้นทางเท่านั้น ขบวนการค้ามนุษย์ยังมีเครือข่ายปลายทางในหลายประเทศของยุโรปด้วย งานหลักของขบวนการนี้คือ ส่งผู้อพยพขึ้นเรือ และหาช่องโหว่ของนโยบายรับคนเข้าเมืองของสหภาพยุโรปเพื่อให้ผู้อพยพไปถึงจุดหมายปลายทางได้ แลกกับผลตอบแทนเป็นเม็ดเงินมูลค่ามหาศาล องค์การระหว่างประเทศเพื่อการย้ายถิ่นฐาน (IOM) เคยประเมินว่า การค้ามนุษย์ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีเงินหมุนเวียนไม่ต่ำว่า 20,000 ล้านบาทต่อปีคำพูดจาก เว็บสล็อต777

ส่วนสาเหตุที่ผู้อพยพยอมจ่ายเงินเพื่อใช้เส้นทางที่อันตรายนี้ เป็นเพราะไม่มีเอกสารลี้ภัยอย่างถูกต้อง โดยการทำเอกสารเพื่อขอเป็นผู้ลี้ภัยค่อนข้างยุ่งยากและยาวนาน นี่ทำให้ผู้ลี้ภัยหลายพันคนมุ่งหน้ามายังเมืองสแฟกซ์ ประเทศตูนิเซีย เพื่อขึ้นเรือของกลุ่มขบวนการค้ามนุษย์เพื่อข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังประเทศอิตาลี จนกลายเป็นวิกฤตผู้อพยพที่รุนแรงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในตูนิเซียและอิตาลี ข้อมูลล่าสุดของอิตาลีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมชี้ให้เห็นว่า ในช่วงเกือบ 8 เดือนแรกของปีนี้ มีผู้อพยพทางเรือเดินทางขึ้นชายฝั่งอิตาลีแล้วมากถึง 92,000 คน ซึ่งมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปี 2022 เกือบ 3 เท่า

ทางการอิตาลียืนยันว่า ในจำนวนผู้อพยพกว่าแสนราย เกินกว่าครึ่งขึ้นเรือขนส่งผู้ลี้ภัยมาจากท่าเรือในประเทศตูนิเซีย

อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ผู้อพยพทุกคนที่จะเดินทางไปถึงอิตาลีหรือยุโรป เนื่องจากจำนวนไม่น้อยต้องเสียชีวิตในระหว่างการเดินทางจากเหตุเรืออับปางกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เพราะการบรรทุกคนเกินขนาดความจุเรือและเผชิญกับคลื่นลมแรง

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน หรือ IOM ระบุว่าในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้ มีผู้อพยพผ่านการข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังยุโรปกว่า 101,000 คน

และมีผู้เสียชีวิตจากเหตุเรือล่มไปแล้วกว่า 2,063 คน หากเปรียบเทียบ คือ ในกลุ่มผู้ลี้ภัย 100 คน จะมีอย่างน้อย 2 คนที่จะต้องเสียชีวิตจากการจมน้ำเพราะเรือล่ม ข้อมูลปีนี้ของ IOM ชี้ให้เห็นว่า ในช่วงเวลา 7 ที่ผ่านมา เดือนมิถุนายน เป็นเดือนที่มีผู้ลี้ภัยเสียชีวิตจากเรือล่มมากที่สุด โดยมีผู้เสียชีวิตถึง 837 ราย

นี่เป็นเพียงหนึ่งในความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการขนย้ายผู้อพยพแบบผิดกฎหมายเท่านั้น หลายฝ่ายมองว่าเหตุการณ์เรือผู้อพยพล่มในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ถือเป็นเหตุการณ์ที่สะท้อนถึงวิกฤตด้านมนุษยธรรมและความวุ่นวายทางการเมืองทั้งในทวีปยุโรปและแอฟริกา ทำให้ตอนนี้ยุโรปที่นำโดยอิตาลีและสหภาพยุโรปต้องหาทางช่วยเหลือตูนิเซีย ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นประเทศต้นทางของผู้อพยพ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลักลอบขนผู้ลี้ภัยข้ามทะเลจนเกิดโศกนาฏกรรมกลางทะเล

การประชุมครั้งล่าสุดเพื่อจัดการกับปัญหานี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา จอร์เจีย เมโลนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ได้จัดประชุมร่วมกับบรรดาผู้นำของประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง เกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นแบบผิดกฎหมายในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางการอิตาลีระบุว่าการประชุมดังกล่าวมีขึ้นเพื่อต่อสู้กับขบวนการค้ามนุษย์ผ่านการขนย้ายผู้ลี้ภัยทางเรือ และส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความร่วมมือรูปแบบใหม่ระหว่างรัฐต่อรัฐ

หลังเสร็จสิ้นการประชุม บรรดาผู้แทนของ 20 ชาติได้เห็นพ้องต้องกันและออกร่างข้อสรุปเพื่อรับมือกับปัญหาผู้ลี้ภัยที่เรียกว่า “กระบวนการโรม หรือ Rome processs” ที่จะมีผลบังคับใช้ไปอีกหลายปี นอกจากนี้ นายกฯ อิตาลีระบุว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยินดีจะมอบความช่วยเหลือมูลค่ากว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3,500 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการตั้งโครงการดังกล่าว

การประชุมของอิตาลีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม เป็นภาคต่อของความร่วมมือเพื่อจำกัดจำนวนผู้ลี้ภัยทั้งอิตาลีและยุโรป หลังจากเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้ลงนามใน “ข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” กับประเทศตูนิเซีย เพื่อช่วยสกัดกั้นการย้ายถิ่นฐานแบบผิดกฎหมายคิดเป็นจำนวนเงินมูลค่ากว่า 1 พันล้านยูโร หรือราว 39,000 ล้านบาท

“ข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ดังกล่าวมีเป้าหมายให้ความช่วยเหลือแก่ตูนิเซีย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้อพยพ ด้านเสถียรภาพของเศรษฐกิจตูนิเซียในระดับมหภาค ด้านการค้าและการลงทุน ด้านการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสีเขียว ตลอดจนด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในตูนิเซีย เพื่อไม่ให้ผู้อพยพเดินทางไปยังยุโรป

เหล่านี้คือสิ่งที่เรียกว่า การทูตเพื่อการอพยพ หรือ migration diplomacy ที่กำลังปกป้องสังคมและเศรษฐกิจยุโรปจากคลื่นผู้ลี้ภัยจำนวนมากจากแอฟริกา เพราะยุโรปเชื่อว่าถ้าตูนิเซียไม่มีศักยภาพรองรับผู้ลี้ภัยได้ คลื่นผู้ลี้ภัยจำนวนมหาศาลจะมุ่งหน้าเข้าสู้ยุโรป ซ้ำเติมปัญหาค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงวิกฤตผู้ลี้ภัยที่หลายประเทศในยุโรปกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ จนอาจนำไปสู่ความไม่มั่นคงทางการเมืองภายในประเทศต่างๆ

ที่ผ่านมา หลายประเทศในยุโรปพยายามป้องกันและปราบปรามขบวนการขนย้ายผู้อพยพมาโดยตลอด

เมื่อปี 2015 สหภาพยุโรปได้มีการตั้งกองเรือเพื่อปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์ โดยประเทศสมาชิกได้ร่วมกันส่งเรือรบและเครื่องบินลาดตระเวนในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อย่างไรก็ตาม การทำงานของกองเรือไม่สามารถสกัดขบวนการค้ามนุษย์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่สามารถเข้าไปทำลายเรือของขบวนการค้ามนุษย์ในน่านน้ำลิเบียได้

ด้วยเหตุนี้ บางประเทศของสหภาพยุโรปเคยเสนอให้ทำลายเรือที่กลุ่มนักค้ามนุษย์ในลิเบียใช้ลำเลียงผู้อพยพ แต่วิธีการดังกล่าวก็ไม่ได้ผลมากนัก เนื่องจากเรือที่ขบวนการค้ามนุษย์ใช้มีราคาถูกและสามารถต่อใหม่ได้ไม่ยาก ซึ่งส่วนใหญ่เรือที่ใช้ขนผู้อพยพเป็นเรือประมงเก่าๆ

นี่ทำให้ชาติยุโรปต้องหันไปใช้วิธียื่นมือเข้าไปช่วยเหลือประเทศต้นทางให้มีความสามารถสกัดคลื่นผู้อพยพและขบวนการค้ามนุษย์ ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในไม่กี่เดือนที่ผ่านมาของปีนี้